การเดินทาง

Outside_Nitasrattanakosin_3

การเดินทาง มายัง “นิทรรศน์รัตนโกสินทร์”

รถประจำทาง สาย : 2, 3, 9, 15, 31, 33, 42, 47, 59, 60, 64, 68, 70, 79, 82, 157, 201, 503, 509
รถยนต์ส่วนตัว : ใช้บริการที่จอดรถนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ประทับตราจอดรถ จอดได้ 3 ชั่วโมง 20 บาท เกิน 3 ชั่วโมง คิดค่าบริการชั่วโมงละ 50 บาท ***ควรใช้บริการรถสาธารณะจะสะดวกที่สุด

IMG_5345

สำหรับการจัดแสดง “นิทรรศน์รัตนโกสินทร์” ได้นำเสนอเรื่องราวด้านต่างๆ แห่งยุครัตนโกสินทร์ ผ่านห้องจัดแสดง ซึ่งตั้งชื่อไว้อย่างคล้องจองกัน ทั้งหมด 9 ห้อง รวมกันหมายถึง “อัญมณี แห่งมหานคร” ดังนี้

1. รัตนโกสินทร์เรืองโรจน์
2. เกียรติยศแผ่นดินสยาม
3. เรืองนามมหรสพศิลป์
4. ลือระบิลพระราชพิธี
5. สง่าศรีสถาปัตยกรรม
6. ดื่มด่ำย่านชุมชน
7. เยี่ยมยลถิ่นกรุง
8. เรื่องรุ่งวิถีไทย
9. ดวงใจปวงประชา

อัตราค่าเข้าชม และเส้นทางในนิทรรศการ

DSC_1890

เข้ามาชมกันที่นี่มีค่าเข้าชม 100 บาท ราคาเท่ากันทั้งคนไทยคนต่างชาติ

บางคนอาจจะบ่นว่าค่าเข้าชมแพงจัง  ก็ต้องเล่าว่าที่นี่ลงทุนกันเป็นหลักร้อยล้านบาท  เรียกว่างานนี้เก็บค่าเข้าชมก็เพียงแค่ให้มีรายได้เข้ามาชดเชยค่าใช้จ่ายบ้าง  ไม่ได้คิดไปถึงจะให้คืนทุนที่ลงไป

ข่าวดีคือเขาให้เข้าชมฟรีกันสำหรับคนหลายกลุ่มเลย

เริ่มตั้งแต่เด็กสูงไม่เกิน 120 ซม. (วัดได้จากเคาน์เตอร์ขายบัตรเข้าชมได้เลย)  แต่ถ้าโตกว่านั้นจะโชว์บัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา (ไม่เกิน ป.ตรี) หรือแต่งเครื่องแบบมาก็ได้  เลยจากนั้นไปก็ข้ามไปกลุ่มผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป  แล้วก็เป็นผู้พิการ พระภิกษุหรือนักบวชในศาสนาอื่น  ทั้งหมดนี้สามารถเข้าชมได้ฟรีไม่ต้องเสียสตางค์

ส่วนเส้นทางเดินชมเขาจะแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง

เส้นทางที่ 1 ก็คือ ห้องจัดแสดง 1-7  ส่วนนี้หลังจากห้องแรก ๆ แล้วห้องต่อไปก็เดินชมไปตามอัธยาศัยได้  ปกติก็ใช้เวลาชมประมาณ 2 ชม. หรือถ้าเดินชมผ่าน ๆ อาจจะเร็วกว่านั้นได้

ส่วนเส้นทางที่ 2 คือห้องจัดแสดง 8 และ 9 ที่เพิ่งเปิดเพิ่มเมื่อปลายเดือน มิ.ย. 54 นี้  แต่การชมจะต้องไปเป็นกลุ่มด้วยกันตลอด  แล้วก็จะใช้เวลาชมรวมกัน 2 ชม. พอดิบพอดี

ตอนมาซื้อบัตรเขาชม เขาจะถามว่าจะชมในเส้นทางไหน  ใครเคยมาแล้วจะเลือกเดินเฉพาะเส้นทาง 2 ที่เพิ่งเปิดเพิ่มก็ได้  หรือจะเลือกเดินทั้ง 2 เส้นทางไปในคราวเดียวกันก็เสีย 100 บาทเท่ากัน  แต่ต้องเผื่อเวลาไว้เยอะ ๆ เลยไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง

อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

Outside_Nitasrattanakosin_1

 

ปัจจุบัน หลังจากหมดสัญญาเช่าแล้ว สำนักงานทรัพย์สินส่วน
พระมหากษัตริย์ จึงดำริที่จะพัฒนาอาคารบริเวณถนนราชดำเนินกลาง โดยเริ่มที่อาคารซึ่งต่อจาก ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ (พื้นที่ศาลาเฉลิมไทยเดิม) ซึ่งที่ตั้งอาคาร นั้นเสมือนเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเข้าสู่เขตพระราชธานีเมื่อครั้งในอดีต เปรียบได้กับเป็น ประตูสู่กรุงรัตนโกสินทร์ จึงกำหนดให้มีการจัดสร้างตกแต่งบูรณะอาคารเดิม ให้เป็น อาคาร
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ข้อมูล และแหล่งรวบรวมความรู้ทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม ของยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่บนถนนราชดำเนินอีกด้วย

โดยได้เริ่มโครงการก่อสร้าง บูรณะอาคาร และตกแต่งนิทรรศการภายใน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และจะเปิดให้สาธารณะชนได้เข้าชมเพื่อร่วมภาคภูมิใจไปกับ ศิลปวิทยาการ มรดกของแผ่นดินที่สืบทอดมายาวนาน และอารยธรรมของประเทศในยุคที่เรียกว่า รัตนโกสินทร์นี้ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

content02

 

สถาปัตยกรรมในช่วง พ.ศ. 2475 – 2489 เป็นช่วงการออกแบบที่ยึดแนวสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคตะวันออก ซึ่งต้องมีรูปแบบและสัดส่วนของอาคารที่ถูกต้องทุกส่วน โดยเฉพาะในเรื่องของแกน (Axis) ของอาคารทั้งแนวตั้งและแนวราบ (มองจากผังอาคาร) เพื่อให้เกิดความสมดุล อีกทั้งการจัดวางผังบริเวณที่วางอาคารขนานตามแนวถนนให้รูปอาคารสอดคล้องกันตลอดแนวและวางตัวอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางแดด – ลม เพื่อให้สามารถรับลมธรรมชาติได้ดี

ตามที่กล่าวมาอาคารบนถนนราชดำเนินกลาง ผู้ออกแบบได้ยึดหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมตามยุคสมัยนั้น โดยรูปทรงอาคารเป็นอาคารแบบผสมสถาปัตยกรรมตะวันตก ใช้รูปทรงเรขาคณิตพื้นฐาน คือ สี่เหลี่ยมและวงกลมประกอบกันอย่างกลมกลืน วางอาคารด้านยาวขนานตามแนวถนน สมมาตรกันตลอดแนวถนนราชดำเนินกลาง

รูปลักษณ์ภายนอกอาคารออกแบบให้แกนสมดุลย์อยู่กึ่งกลางอาคาร โดยกำหนดให้มีทางเข้าหลักตรงกลาง มีแนวครีบคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ทางตั้งระหว่างหน้าต่างและกันสาด ยื่นออกจากแนวผนังเพื่อเน้นทางเข้า ซึ่งในบริเวณหน้าต่างส่วนอื่น ๆ มีเพียงกันสาด คสล. ด้านบน และปูนปั้นขอบล่างหน้าต่าง เพื่อให้รับกับครีบ คสล. ที่ออกแบบไว้

ในส่วนผิวผนังภายนอกอาคารเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนทำผิวไม่เรียบ (Texture) และเซาะร่องเลียนแบบการเรียงหิน ซึ่งเป็นการเน้นแนวขอบครีบ คสล.และขอบปูนปั้นกรอบหน้าต่างให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

หลังคาดาดฟ้าของอาคารในส่วนโค้งปลายอาคารทั้งสองด้านเป็นพื้น คสล. ส่วนกลางอาคารระหว่างโค้งเป็นหลังคาจั่วโครงไม้มุงกระเบื้อง ยกขอบสูงเพื่อบังหลังคากระเบื้อง และทำเป็นกันสาด

 

รูปทรงอาคารดังกล่าวเป็นลักษณะพื้นฐานของอาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลาง ยกเว้นอาคารในพื้นที่มุมถนนบริเวณสี่แยกคอกวัว (4 อาคาร ปัจจุบันเหลือเพียงอาคารกรมเจรจาการค้าฯ , อาคารกองสลาก 2 และอาคารธนาคารออมสิน) อาคารรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย( 4 อาคาร ได้แก่ ร้านอาหารเมธาวลัยศรแดง ร้านหนังสือริมขอบฟ้า , ร้านแมคโดนัล และ ร้านอาหารวิจิตร) , อาคารปลายถนนราชดำเนินกลางบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ (ศาลาเฉลิมไทย ซึ่งรื้อไปแล้ว และอาคารเทเวศประกันภัย) และอาคารโรงแรมรัตนโกสินทร์ ซึ่งออกแบบให้มีองค์ประกอบ เช่น ครีบ ขอบปูนปั้น ผิวผนังภายนอกรูปทรงสี่เหลี่ยมและวงกลมคล้ายกัน อาจต่างกันที่อาคารและความสูงอาคารบางส่วนโดยเฉพาะอาคารเทเวศประกันภัย มีความสูงของอาคาร 5 ชั้น และมีโดมกลางอาคารที่เป็นโค้งโถงบันได ซึ่งอาคารอื่น ๆ มีความสูงเพียง 3 ชั้นและไม่มีโดมตรงกลาง

ประวัติความเป็นมา

200px-Nitasrattanakosin

อาคารบริเวณถนนราชดำเนินกลาง เป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่มีพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ให้ตัดถนนราชดำเนินจากพระราชวังดุสิตไปยังพระบรมมหาราชวัง โดยจัดวางรูปแบบตามลักษณะของ Champs Elysees ในประเทศฝรั่งเศส

 

การก่อสร้างถนนราชดำเนินเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442 ส่วนอาคารตลอดแนวถนนราชดำเนินกลางได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2480 โดยการเวนคืนที่ดินทั้งสองฝั่งถนนข้างละ 40 เมตร และออกแบบโดยสถาปนิกหลายท่าน ได้แก่ มล.ปุ่ม มาลากุล, คุณหมิว อภัยวงศ์ ซึ่งใช้แนวความคิดในการออกแบบจาก Champ Elysees ตามพระราชดำริเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

งานก่อสร้างอาคารบนถนนราชดำเนินกลาง ใช้เวลาระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึง 2491 มีอาคารจำนวน 15 หลัง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 10 ล้านบาท โดยจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง อาทิเช่น บริษัท สง่าวรรณดิศ จำกัด, บริษัทคริสเตียนีแอนด์เนลสัน จำกัด และในขณะเดียวกันได้ก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2482 ด้วย